องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

อพท.เลย จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ผ่าน Soft Power ตามโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน(ตลาดมูลค่าสูง) ระหว่างวันที่ 18 - 20 กันยายน 2567 ณ จังหวัดสระบุรี จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดอุดรธานี

1727145000
ขนาดตัวอักษร

สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย(อพท.เลย) ได้จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ผ่าน Soft Power ตามโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน(ตลาดมูลค่าสูง) ระหว่างวันที่ 18 - 20 กันยายน 2567 ณ จังหวัดสระบุรี จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดอุดรธานี โดยนายธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย มอบหมายให้นางสาวอรุณศรี นามซุย เจ้าหน้าที่พัฒนาพื้นที่พิเศษ และนางปรางค์สิริ ศรีมงคล เจ้าหน้าที่พัฒนาพื้นที่พิเศษ นำชุมชนอาฮี อำเภอท่าลี่ ชุมชนประมง ชุมชนไทดำ อำเภอเชียงคาน และชุมชนห้วยม่วง ชุมชนไร่ม่วง อำเภอเมืองเลย ซึ่งเป็นชุมชนเป้าหมายในพื้นที่กลุ่มโซนเมืองเลย เชียงคาน ท่าลี่ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
กิจกรรมศึกษาดูงานแบ่งออกเป็น 4 กิจกรรม ดังต่อไปนี้
1. กิจกรรมศึกษาดูงานชุมชนตลาดหัวปลี จังหวัดสระบุรี ศึกษากิจกรรมการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ต้นน้ำการทำเกษตร กลางน้ำการแปรรูปสินค้า และปลายน้ำด้านการส่งเสริมการตลาด นำไปปรับใช้ในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับชุมชน
2. กิจกรรมศึกษาดูงานสัมผัสวิถีเกษตร ลิ้มรสอาหาร “มีกินฟาร์ม” จังหวัดขอนแก่น เรียนรู้การจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างสร้างสรรค์ โดยการออกแบบพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมทางการท่องเที่ยว กระบวนการออกแบบธุรกิจ แนวคิดการออกแบบเมนูอาหารและเรียนรู้มาตรฐานรางวัลมิชลิน บิบ กรูมองค์ เพื่อต่อยอดแนวความคิดการบริหารจัดการท่องเที่ยวชุมชน
3. กิจกรรมศึกษาดูงานเรียนรู้อาหารถิ่นอีสาน “Isan Gastronomy” เฮือนคำนาง จังหวัดขอนแก่น ที่เปิดเฮือนเป็นประตูสู่วัฒนธรรมอีสานให้ผู้คนรู้จัก พาข้าวชาวอีสาน เรียนรู้การบรรยายพาข้าวด้วยแนวความคิด “เสิร์ฟอีสานผ่านพาข้าว” เพิ่มมูลค่าต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน เรียนรู้การคัดเลือกวัตถุดิบ นำไปสู่การกระจายรายได้ในชุมชน 
4. กิจกรรมศึกษาดูงานศูนย์เรียนรู้กลุ่มทอผ้าโบราณบ้านโนนกอก เรียนรู้เทคนิคกระบวนการมัดย้อมผ้าจากดอกบัวแดง ศึกษากิจกรรมการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เรียนรู้เมนูอาหารถิ่นที่หายไปและกิจกรรมแลกเปลี่ยนเทคนิคการไลฟ์สดสู่กระบวนการตลาดที่ยั่งยืน
     ในการศึกษาดูงานครั้งนี้มีกิจกรรมร่วมสรุปถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพชุมชน เพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาต่อยอดชุมชนในการต้อนรับนักท่องเที่ยวในอนาคตต่อไป