องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

อพท.สุโขทัย พัฒนาต้นแบบด้านการท่องเที่ยว ตามเกณฑ์มาตรฐาน CBT Thailand และสร้างภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดกำแพงเพชร

1723972200
ขนาดตัวอักษร

วันที่ 14-16 สิงหาคม 2567 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. โดย สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร (อพท.สุโขทัย) จัดกิจกรรมยกระดับชุมชนท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษตามเกณฑ์มาตรฐาน CBT Thailand และสร้างภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ชุมชนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชนหนองปลิง ชุมชนไตรตรึงษ์ ชุมชนนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

 

พันเอก นาวิน ปรีชาพณิชยกุล ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวทุกมิติ เพื่อหนุนเสริมการทำงานระหว่างหน่วยงานรัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย และองค์การปกครองท้องถิ่น ในการสร้างชุมชนต้นแบบทางด้านการท่องเที่ยว ผ่านกระบวนการพัฒนาชุมชนไปสู่มาตรฐานหรือรางวัลในระดับประเทศ และนานาชาติ นั้น มีขั้นตอนตั้งแต่ อพท.สุโขทัย เข้าไปร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยขน์ และร่วมเป็นเจ้าของร่วมกันภายในชุมชน การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการประเมินศักยภาพ ทบทวนแผนการพัฒนาร่วมกับชุมชน เพื่อเพิ่มคุณค่า เป็นมูลค่าจากทรัพยากรภายในท้องถิ่นผ่านกระบวนการออกแบบประสบการณ์และการเชื่อมโยงตลาดการท่องเที่ยวคุณภาพสูง โดยมีการใช้เครื่องมือที่สำคัญเป็นกรอบการพัฒนา คือ เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน เกณฑ์ CBT Thailand และล่าสุด รางวัลที่ต่างๆที่ชุมชนได้รับตอกย้ำ การมีมรดกทางวัฒนธรรมที่เด่นชัด จากการรักษา สืบสานและต่อยอด สร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับประเทศ เช่นระบำ ก.ไก่ ของชุมชนไตรตรึงษ์ จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับรางวัล PATA Gold Awards 2024 ประเภทวัฒนธรรม: การแสดงท้องถิ่นและทัศนศิลป์ (Culture -Traditional performance and visual arts) ผลงาน “การรื้อฟื้นศิลปะการแสดงและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนไตรตรึงษ์ ผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงวัฒนธรรม” ซึ่งมาจากชีวิตประจำวันในท้องถิ่น เกิดความภาคภูมิใจในการรักษาวัฒนธรรมของปู่ย่าตายายส่งต่อสู่รุ่นลูกหลาน สร้างรายได้ เกิดการรักษาวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนต่อไป

 

 

 

 

https://phetkamphaengnews.com/archives/28717