องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

แผนพัฒนาสุโขทัยเมืองสร้างสรรค์

1703486220
ขนาดตัวอักษร

สุโขทัยได้รับคัดเลือกจากองค์การยูเนสโก ให้เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (UNESCO Creative Cities Network) ประจำปี 2562 ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (City of Crafts and Folk Art) 

          สุโขทัยมีคุณสมบัติที่เอื้อต่อการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ได้เพราะมีสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมที่เอื้อให้เกิดการสร้างสรรค์งาน มีการนำความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนาให้เมืองก่อให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และมีพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน
          สมาชิกหรือเครือข่ายจากทุกทวีปและภูมิภาค แม้แต่ละเมืองจะมีระดับรายได้และประชากรที่แตกต่างกัน แต่เมืองเหล่านี้จะทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุภารกิจสำคัญ คือ การวางแนวคิดสร้างสรรค์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นแกนหลักของแผนพัฒนาเมือง เพื่อให้เมืองปลอดภัย ยืดหยุ่น ครอบคลุม และยั่งยืน สอดคล้องกับวาระแห่งสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี พ.ศ.2573 (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) 
          การจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาสุโขทัยเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2564-2568) เป็นพันธกิจสำคัญของการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพันธสัญญาที่แต่ละเมืองสร้างสรรค์กำหนดไว้ โดยระบุเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในใบสมัครก่อนได้รับการพิจารณาคัดเลือก แผนฉบับนี้จัดทำขึ้นให้มีความสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการทำความเข้าใจรายละเอียพันธกิจที่ได้ระบุไว้ในใบสมัครและคำแนะนำสำหรับการจัดทำรายงาน 4 ปี เพื่อดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ร่วมกัน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน ภาคชุมชน และเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์
การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์สุโขทัย ไม่ใช่เรื่องของการปรับปรุงหรือพัฒนาเมืองเชิงกายภาพ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวมรดกโลก หรือการมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนแต่เพียงมิติเดียว แต่กรอบการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์เป็นกลยุทธ์และกลไกสำคัญสำหรับการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม โดยการส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงงานที่เข้าถึงการสร้างรายได้ การเข้าถึงพื้นที่ทางเศรษฐกิจ ความเท่าเทียมทางสังคม เพื่อพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สำหรับนักคิด นักออกแบบ นักวางแผน นักการตลาด ผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับคุณภาพงานหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้าน ที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นสุโขทัย นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนสุโขทัยอย่างแท้จริง จึงเป็นที่มาของวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์สุโขทัยด้านหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน ครอบคลุม 5 ด้าน ประกอบด้วย 
ยุทธศาสตร์ที่ 1: การพัฒนากิจกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 
ยุทธศาสตร์ที่ 2: การพัฒนาโอกาสอย่างเท่าเทียมทางสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 3: การพัฒนาเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน 
ยุทธศาสตร์ที่ 4: การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถด้านการสร้างสรรค์ 
ยุทธศาสตร์ที่ 5: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับเมืองสุโขทัย 
แต่ละยุทธศาสตร์มีโครงการที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ได้แก่ 
เป้าหมายที่ 1 : การขจัดความ ยากจน (SDG1) 
เป้าหมายที่ 8 : ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และ ยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน (SDG8) 
เป้าหมายที่ 9 : สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม (SDG9) 
เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ (SDG10) 
เป้าหมายที่ 11 : การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย มีภูมิต้านทาน พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG11)

  • ไฟล์แนบ :
    Final Short Thai Report แผนปฏิบัติการสุโขทัย(เพิ่มภาคผนว.pdf
  • Rate :
  • ขนาดไฟล์ :
    2.244
  • จำนวนดาวน์โหลด :
    13 ครั้ง