องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

คุณวัชรี ชูรักษา

1625641200
ขนาดตัวอักษร

อพท. กับบทบาทผู้นำเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน


เผยมุมมองต่อจุดยืนของ อพท. ในฐานะบทบาทผู้นำ เพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้อื่น 

นางสาววัชรี ชูรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร หนึ่งในผู้บริหารหัวเรือใหญ่ กล่าวถึง อพท. ว่าเปรียบเสมือนหน่วยงานที่มีองค์ความรู้การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนเพื่อทำการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความต้องการและศักยภาพของชุมชน จากฐานทุนทางด้านวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ

https://lh6.googleusercontent.com/fndRoySJGmY4bt_O6QEkZYYTJyY5mrM-DoW9RMnASiBaRzSiU_TfnlkutBhUYTUEPqtR1l2ooJiJsXxCJAXLELDopsj3GU_TNeNClZt2MRO1EmqhQ9lfUmxztB1g8K0zBmT5LSyD
 

| หน้าที่รับผิดชอบและนโยบายการบริหารงาน

นางสาววัชรี ชูรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร กล่าวถึงจุดยืนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของ อพท. หนึ่งในภารกิจที่สำคัญ นอกจากนี้ยังรับหน้าที่ดูแลสำนักส่วนกลาง สำนักงานพื้นที่พิเศษ 4 สำนัก (สำนักงานพื้นที่พิเศษ 1, สำนักงานพื้นที่พิเศษ 2, สำนักงานพื้นที่พิเศษ 8, เขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลอ่าวไทย) และสำนักสื่อสารองค์กร ดูแลภาพลักษณ์ขององค์กร สร้างการรับรู้ให้กับคนภายนอกว่าบทบาทขององค์กรทำหน้าที่อะไรบ้างในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

โดยมีนโยบายการบริหารงาน คือ ทำงานให้สอดคล้องกับสำนักพื้นที่พิเศษอื่น ๆ และสื่อสารเพื่อสร้างความรับรู้ให้คนภายในองค์กรเข้าใจบทบาทภารกิจของ อพท. และทำหน้าที่เพื่อไปสู่เป้าหมายสร้างชุมชนแห่งความสุข พร้อมกับสามารถทำหน้าที่สื่อสารไปสู่ภายนอกได้อย่างมีทิศทางเดียวกัน มีค่านิยมเดียวกันและเหมือนกัน และมีการทำงานอยู่ภายใต้ภาพลักษณ์เดียวกัน คือ One Single Message เพื่อที่จะเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างชุมชนแห่งความสุข พร้อมกับสื่อสารออกไปว่า อพท. มีบทบาทสำคัญในการสร้างต้นแบบให้สามารถไปสู่ความยั่งยืนได้

คำว่าต้นแบบก็คือการพัฒนาชุมชนให้นำไปสู่การวัดผลได้ ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การท่องเที่ยวโดยชุมชนก็เป็นการท่องเที่ยวประเภทหนึ่งที่จะนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพราะชุมชนคือเจ้าของทรัพยากรท่องเที่ยว อพท. เอา CBT (Community-Based Tourism) เข้ามาเพื่อให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเป็นผู้ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับประโยชน์ด้วย ถ้าชุมชนได้รับประโยชน์ก็จะได้ช่วยอนุรักษ์ ปกปักรักษาทรัพยากรท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นวิถีวัฒนธรรม หรือธรรมชาติ คำว่าประโยชน์ในที่นี้คือการนำเอาคุณค่าทางวิถีวัฒนธรรมมาเป็นกิจกรรมท่องเที่ยว เส้นทางท่องเที่ยว อาหารที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ 


https://lh5.googleusercontent.com/9Lo4Z33NBXnvnFIkGJbE7KtpmJ-QR-bapW535FhUWyXt5n6lR7zZ8jtRCI9_hL93tF1HUtHONOs6-HgCOmTmkOne8FZeszniwkrkP0rqsnUtGbtQPrsRX584VTJznYK-lKEvY8sd
 

| การเกื้อหนุนบทบาทซึ่งกันและกันระหว่าง อพท. และชุมชน

การสื่อสารภายนอกองค์กรก็เช่นเดียว คือ One Single Message ซึ่งตอนนี้ อพท. ใช้คำว่า “เที่ยวไทย ให้ยั่งยืน” ที่จะบอกว่าทั้งนักพัฒนาก็พัฒนาอย่างยั่งยืน คนที่มาเที่ยวก็ต้องเที่ยวแบบรับผิดชอบ ในส่วนของระดับนานาชาติก็ต้องทำเครื่องมือสื่อสารที่เป็นภาษาต่างประเทศให้กับภาคีเครือข่ายต่างประเทศได้รับทราบ เห็นจุดยืนของ อพท. และเห็นกระบวนการทำงานต่าง ๆ เห็นเครื่องมือในการทำงานของแต่ละหน่วยต่าง ๆ ซึ่ง อพท. ก็ต้องสื่อออกไป เพราะลูกค้า อพท. มีทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคสถาบันการศึกษา หรือชุมชนท่องเที่ยว ก็สามารถใช้องค์ความรู้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ อันนี้คือการขยายผล

 


หน้าที่ของ อพท. คือการสร้างต้นแบบ ดังนั้น ไม่ใช่ทำครั้งเดียวจบ อพท. ต้องทำงานต่อเนื่อง จนสามารถวัดได้ตามเกณฑ์พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน และขับเคลื่อนไปสู่แหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ GSTC (Global Sustainable Tourism Criteria) โดยไม่ใช่ทำแค่ระดับชุมชน แต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน นั่นหมายถึงต้องมีบริบททั้งเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐในท้องถิ่นต้องมาร่วมขับเคลื่อนด้วยกัน เพื่อให้ Destination นั้นยั่งยืนสมดุลทั้งมิติสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ภาคเอกชน ทั้ง Supply Chain ภาคขนส่ง ภาคที่พัก ภาคของฝากของที่ระลึก ภาคมัคคุเทศก์ บริษัทนำเที่ยว และบริการต่าง ๆ ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันนี้คือความท้าทายที่เพิ่มขึ้น
 

https://lh4.googleusercontent.com/dADS3QpIjcbN287OaolZKksGj0Nwedi1v9_WmV0vX-Hu3F1WHkLoAorNWmP4pi4X2OsLi9bbmwrFb-Bz3VspDO0rquE8bzqNHkR_dB1e0DuRv_xWzt11-mFZtJUsFuwZ9BbDLDh-

 

| อพท. กับบทบาทผู้นำพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

สำหรับจุดยืนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คือ อพท. ต้องเป็นเลิศในการเป็นผู้ที่พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ใครมาเรียนรู้ก็จะเห็นว่ายั่งยืนจริง ๆ วัดได้ตามเกณฑ์พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลกทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริหารจัดการ ด้านการอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรม ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และด้านการจัดการสังคมและเศรษฐกิจ การกระจายและแบ่งปัน พอเรียนรู้ก็ต้องเรียนลัด รู้ถึงกระบวนการการบริหารจัดการต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย เพราะฉะนั้นจุดยืนของ อพท. คือ ต้นแบบจะต้องสำเร็จ ให้เป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพดีที่สุด และเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้ให้ได้เอาไปขยายผลต่อได้ในอนาคต