องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

อำนาจหน้าที่

1618991040
ขนาดตัวอักษร

บทบาทหน้าที่ของ อพท. 

         อพท. ได้รับการจัดตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยงานในการกำหนดนโยบาย และแผนการบริหารการพัฒนา ในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมถึงการประสานหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น และประชาชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม คงสภาพแหล่งท่องเที่ยวให้มีความงดงาม สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างความประทับใจ แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศให้ระลึกถึงและกลับมาท่องเที่ยวใหม่ ตามพระราชกฤษฎีการจัดตั้ง อพท. (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562 ได้กำหนดวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ อพท. ดังนี้

1. วัตถุประสงค์ 

          ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง อพท. (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562 

          (1) ประสานงานการบริหารจัดการการท่องเที่ยวระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีอ านาจหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการการท่องเที่ยว ไม่ว่าในระดับชาติ ระดับภูมิภาค หรือระดับท้องถิ่น

          (2) ประสานงานการใช้อ านาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีอ านาจหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน ผังเมือง สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อบูรณาการการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

          (3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 

          (4) ส่งเสริมการใช้ศักยภาพของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว 

          (5) ส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

          (6) ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นจัดให้มีการบำรุงรักษา ศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น

          (7) ส่งเสริมการจัดทำข้อมูลสารสนเทศและการวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและพัฒนากลไกการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาต้นแบบหรือศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว

          (8) ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการจ้างงานและ ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่แห่งท้องถิ่นให้ดีขึ้น

          (9) ดำเนินการในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวหรือแหล่งท่องเที่ยว ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการ นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติมอบหมาย

การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ให้มุ่งเน้นไปที่พื้นที่พิเศษหรือตามที่คณะกรรมการ นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติมอบหมาย

2. อำนาจหน้าที่

         มาตรา 20 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการและการดำเนินงานขององค์การเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
          (1) จัดทำและเสนอนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่าง
ยั่งยืนต่อคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
          (2) กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานขององค์การ
          (3) อนุมัติงบประมาณประจำปี งบการเงิน แผนการลงทุน และแผนการเงินขององค์การ
          (4) ประกาศกำหนดหรือเพิกถอนพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยความยินยอมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
          (5) เสนอรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามมาตรา 36
          (6) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด หรือประกาศเกี่ยวกับองค์การในเรื่องดังต่อไปนี้
          (ก) การบริหารงานทั่วไป การจัดแบ่งส่วนงาน และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว
          (ข) การสรรหา การแต่งตั้ง และการถอดถอนผู้อำนวยการ การปฏิบัติงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ การรักษาการแทนและการมอบให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทน
          (ค) การคัดเลือก คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ วาระการดำรงตำแหน่ง และการปฏิบัติหน้าที่ของคณะที่ปรึกษาในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามมาตรา 36
          (ง) การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และเงินอื่นของผู้ปฏิบัติงานขององค์การตามมาตรา 40 (1) และ (3) รวมทั้งการกำหนดค่าตอบแทนของคณะที่ปรึกษาในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
          (จ) การกำหนดประมวลจริยธรรมในการปฏิบัติงานของกรรมการ ผู้อำนวยการ และผู้ปฏิบัติงานขององค์การ
          (ฉ) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การพัฒนา การประเมินผลงาน การถอดถอนวินัยและการลงโทษทางวินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์และการอุทธรณ์การลงโทษของผู้ปฏิบัติงานขององค์การตามมาตรา 40 (1) และ (3) รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ้างที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และลูกจ้าง
          (ช) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินขององค์การ รวมทั้งการบัญชีและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ
          (ซ) การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นแก่ผู้ปฏิบัติงานขององค์การ
          (ฌ) การแต่งตั้งและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ
          (ญ) การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและผู้ตรวจสอบภายใน
          (ฎ) การกำหนดเครื่องแบบผู้อำนวยการและผู้ปฏิบัติงานขององค์การ และเครื่องหมายองค์การ (7) ให้ความเห็นชอบในการกำหนดค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน และค่าบริการในการดำเนินกิจการขององค์การ
          (8) กระทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
          (9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ระเบียบเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญตามวรรคหนึ่ง (6) (ช) ต้องเป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด”

          มาตรา 21 การจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามมาตรา 20 (1) จะต้องสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวและต้องคำนึงถึงหลักการผังเมืองและสิ่งแวดล้อม โดยอย่างน้อยจะต้องมีรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้
          (1) การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน การควบคุมการก่อสร้างให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมการวางผังเมือง และการบำรุงรักษาพื้นที่สีเขียวในเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน
          (2) การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในลักษณะสมดุลกำหนดขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อมเกินความจำเป็น การกำหนดตัวชี้วัดและการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
          (3) การสนับสนุนอุตสาหกรรมในครัวเรือนโดยใช้วัสดุท้องถิ่น พัฒนาสินค้าหัตถกรรมและช่วยเหลือชุมชน
ท้องถิ่นในการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการสร้างตลาดและอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นด้วย           
          (4) การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในเขตพื้นที่พิเศษ และมาตรการด้านสุขอนามัยด้านสิ่งแวดล้อมด้านการควบคุมมลภาวะ และด้านการกำจัดขยะและของเสียอื่น
          (5) การพัฒนาโครงข่ายของโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่การคมนาคม การขนส่ง สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานสำหรับการท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกิจกรรม สินค้า บริการและบุคลากรการท่องเที่ยว
          (6) การส่งเสริมการท่องเที่ยวและตลาดการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร
          ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้องค์การประสานกับหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในแต่ละเรื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

          มาตรา 34 เพื่อประโยชน์ในการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและบูรณาการ ให้องค์การมีอำนาจหน้าที่ประสานการปฏิบัติการกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวใช้ทรัพยากรบุคคล งบประมาณ และอำนาจหน้าที่ของตน ไม่ว่าในด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ผังเมือง การควบคุมอาคารการรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การสาธารณสุข การรักษาความสะอาด การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือในด้านอื่นใด แล้วแต่กรณี ให้มีผลสำเร็จตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามที่คณะกรรมการ นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติกำหนด และตามแผนปฏิบัติการในการบริหารจัดการหรือพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมทั้งปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม

          มาตรา 35 เพื่อประโยชน์ในการบริหารการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่พิเศษ คณะกรรมการมีอำนาจประกาศให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยความยินยอมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
          ประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดแนวเขตของพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไว้ด้วย
          เพื่อประโยชน์ในการบูรณาการและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว เมื่อพื้นที่ใดได้รับการประกาศเป็นเขตพัฒนาการท่องเที่ยวและแผนปฏิบัติการ      พัฒนาการท่องเที่ยวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้องค์การบูรณาการการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

          มาตรา 37 ในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ให้องค์การจัดตั้งสำนักงานเป็นหน่วยบริหารเพื่อดำเนินงานพัฒนาการท่องเที่ยวให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 และบริหารจัดการตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามมาตรา 20 (1) รวมทั้งมีหน้าที่เสนอแนะหรือให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการเพื่อประโยชน์ในการจัดทำและเสนอนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามมาตรา 20 (1)
          ให้มีผู้จัดการสำนักงานดังกล่าวคนหนึ่งโดยผู้อำนวยการเป็นผู้แต่งตั้ง
          ในกรณีที่มีปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการ ให้สำนักงานตามวรรคหนึ่ง รายงานต่อองค์การ
เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหรือคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวประจำเขตพัฒนาการท่องเที่ยว
ตามกฎหมายว่าด้วยนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
สนับสนุน แก้ไขปัญหา หรือดำเนินการอื่นใด 

           มาตรา 37/1 ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติหรือคณะกรรมการอาจให้องค์การจัดตั้งสำนักงานเป็นหน่วยบริหารจัดการการท่องเที่ยวตามที่คณะกรรมการ
นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติหรือคณะกรรมการมอบหมาย และให้สำนักงานมีอำนาจให้ข้อเสนอแนะ
ต่อคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวประจำเขตพัฒนาการท่องเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ และจัดทำรายงานเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวประจำเขตพัฒนาการท่องเที่ยวดังกล่าว
        ให้นำความในมาตรา 37 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม

          มาตรา 38 ในกรณีที่องค์การมีความจำเป็นต้องปรับปรุงพื้นที่ จัดให้มีหรือบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพิ่มเติมจากที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือภาคเอกชนได้จัดทำไว้และมีค่าใช้จ่ายจากการดำเนินการดังกล่าว ให้คณะกรรมการมีอำนาจในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการเพื่อเป็นรายได้ขององค์การได้
         การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้กระทำได้เฉพาะเท่าที่จำเป็นและได้มีการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนและผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยประกาศอัตราให้ทราบเป็นการทั่วไป

          มาตรา 39 ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรา 34 เพื่อประโยชน์แก่การบริหารจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษให้บรรลุเป้าหมาย ผู้อำนวยการอาจมอบหมายให้สำนักงานเป็นผู้จัดทำบันทึกข้อตกลงกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานการปฏิบัติการให้บรรลุผลได้  

พระราชกฤษฏีกาจัดตั้ง อพท.

  • ไฟล์แนบ :
    decree_dasta_3.PDF
  • Rate :
  • ขนาดไฟล์ :
    0.201
  • จำนวนดาวน์โหลด :
    57 ครั้ง