องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

รู้หรือไม่ พื้นที่พิเศษของ อพท. อยู่ที่ไหนบ้าง

1723520220
ขนาดตัวอักษร

          ปัจจุบันมีสำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วยกัน 9 แห่ง โดยมีที่ตั้งอยู่ทุกภูมิภาคในประเทศไทย แต่ละสถานที่มีการนำเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และความโดดเด่นในท้องถิ่นมาเป็นจุดสำคัญสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และเป็นต้นแบบการท่องเที่ยวอย่างยืนในประเทศไทย

1. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (อพท. หมู่เกาะช้าง)  แหล่งท่องเที่ยว world-class destination carbon neutral

2. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง (อพท. พัทยา) เมืองสร้างสรรค์และนวัตกรรมสีเขียวเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

3. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร (อพท.สุโขทัย) การเชื่อมโยงประโยชน์จากการเป็นมรดกโลก

4. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย (อพท. เลย) การเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเพิ่มวันพักและการกระจายรายได้

5. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน (อพท.น่าน) เมืองสร้างสรรค์ด้านศิลปะและหัตถกรรม

6. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองโบราณอู่ทอง (อพท.อู่ทอง) เพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงโบราณคดี

7. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (อพท.ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา) ต้นแบบการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มน้ำ

8. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชียงราย (อพท.เชียงราย) ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยวสู่การเป็นเมืองศูนย์กลางศิลปะ 5 เชียง

9. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนคุ้งบางกะเจ้า (อพท.คุ้งบางกะเจ้า) การบูรณาการการท่องเที่ยว BCG Model

          ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ของการเดินทางเพื่อสร้างความยั่งยืนแก่การท่องเที่ยวของไทย อพท. ร่วมพัฒนาพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว มีทรัพยากรที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูง การดำเนินงานพัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบ “พื้นที่พิเศษ” ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน เพราะเป็นการพัฒนาที่ใช้หลักการเชิงวิชาการและเชิงเทคนิคมาวิเคราะห์สถานการณ์ นำปัญหา อุปสรรคด้านการท่องเที่ยว (Pain Point) ของพื้นที่ และแก้ปัญหาความซับซ้อน เพื่อนำมากำหนดเป้าหมายในการพัฒนาการท่องเที่ยวของแต่ละพื้นที่ร่วมกัน จนเกิดการบูรณาการการพัฒนาอย่างแท้จริง