องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

อพท.เชียงราย และ สพข. เข้าร่วมกิจกรรมยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ อาหาร และเครื่องสำอาง วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงราย

1731075180
ขนาดตัวอักษร

อพท.เชียงราย และ สพข. เข้าร่วมกิจกรรมยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ อาหาร และเครื่องสำอาง วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงราย

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท. มอบหมายผู้ปฏิบัติงาน อพท. นำโดยนางสาวนิลวรรณ ทุนคุ้มทอง ปฏิบัติหน้าที่รองผู้จัดการ อพท.เชียงราย ดร.คัชพล จั่นเพชร หัวหน้างานพัฒนานวัตกรรมการท่องเที่ยว สพข. และผู้ปฏิบัติงาน อพท. เข้าร่วมกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ อาหาร และเครื่องสำอาง จากวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการรับรอง KU Standard ข้อบังคับ กระบวนการผลิตรังไหมอีรี่ ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านครูอิ๋ว ครูเชี่ยว ชุมชนตองเก้า ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ดำเนินการโดยนางสาวศิริวรรณ ทุนคุ้มทอง และคณะจากศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย กรมหม่อนไหม และวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวและวิสาหกิจชุมชนด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนต่างๆ ในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมดังกล่าว เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยและการใช้องค์ความรู้จากการวิจัยเพื่อการยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ อาหาร และเครื่องสำอาง จากวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการรับรอง KU Standard ข้อบังคับ กระบวนการผลิตรังไหมอีรี่ ด้วยนวัตกรรมการพัฒนากี่ทอมืออัตโนมัติยกดอกซึ่งเป็นนวัตกรรมกี่ทอผ้าที่ประยุกต์ระบบการผลิตของอุตสาหกรรมร่วมกับระบบผลิตแบบหัตถกรรม ให้เป็นกี่ที่สามารถจดจำลวดลายผ้า ช่วยลดขั้นตอนการทอผ้า และสร้างลวดลายได้หลากหลาย ช่วยรักษาและสืบทอดลวดลายผ้าส่งต่อให้แก่คนรุ่นหลัง นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการแปรรูปไหมอีรี่สู่อาหารท้องถิ่นที่มีความน่าสนใจ คงคุณค่าทางโภชนาการ และสามารถต่อยอด สู่เมนูอาหารและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่สามารถยกระดับและเชื่อมโยงไปสู่ตลาดท่องเที่ยวของพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชียงรายได้ในอนาคต